วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ตั้งแต่ที่ โทมัส อัลวา เอดิสัน ประดิษฐ์ หลอดไฟได้สำเร็จ เมื่อปีค.ศ. 1879 ชีวิตของพวกเราก็เปลี่ยนไป เราได้มีเครื่องมือเครื่องไม้อุปกรณ์ไฟฟ้า สิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย ซึ่งอุปกรณ์พวกนั้นบริโภคพลังงานไฟฟ้าเป็นหลัก
การใช้ไฟฟ้าที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ถ้าหากระบบไฟฟ้าไม่ได้มาตรฐาน หรือการติดตั้งไม่ดีพอ ก็อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุต่างๆ ได้ง่าย ดังนั้นเราจึงต้องมีการตรวจวัด ตรวจสอบระบบไฟฟ้า เพื่อให้ได้ระบบไฟฟ้าที่อยู่ในมาตรฐานที่กำหนด เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันอุบัติเหตุ
เครื่องมือวัดที่เรานำมาใช้ในการวัดและทดสอบทางไฟฟ้า ประกอบไปด้วย:
แต่ตอนนี้เราจะนำทุกท่านให้ไปทำความรู้จักกับ Clamp meter ก่อนเป็นลำดับแรก และหวังว่าจะมีแรงเขียนเครื่องมือวัดอื่นๆ ต่อไป 

แคล้มป์มิเตอร์ (Clamp Meter) เป็นเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าอีกชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับเปลี่ยนปริมาณทางไฟฟ้าให้อยู่ในรูปที่เราสัมผัสได้ เช่น ตัวเลขแสดงผล หรือให้อยู่ในรูปของเข็มชี้ค่าแสดงผล โดยจะสามารถตรวจวัดค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำโดยไม่ต้องดับไฟ หรือหยุดการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าในขณะที่ทำการวัด (รูปที่1) จึงกล่าวได้ว่าแคล้มป์มิเตอร์เป็นเครื่องมือวัดอีกชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นมากในงานด้านไฟฟ้าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบปรับอากาศ เครื่องทำความเย็น หรืองานซ่อมบำรุง ระบบไฟฟ้าภายในรถยนต์ เป็นต้น
ซึ่งถ้าหากเราสามารถใช้งานแคล้มป์มิเตอร์ได้อย่างถูกวิธี และมีความชำนาญอยู่แล้ว จะสามารถช่วยให้ท่านทำงานได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และในขณะเดียวกันก็ยังจะสามารถช่วยลดอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากระบบไฟฟ้าได้อีกด้วย (รูปประกอบในบทความนี้เป็นผลิตภัณฑ์ของ Kyoritsu)
เปรียบเทียบการวัดกระแสไฟฟ้าระหว่างมัลติมิเตอร์ กับแคล้มป์มิเตอร์รูปที่ 1: เปรียบเทียบการวัดกระแสไฟฟ้าระหว่างมัลติมิเตอร์ กับแคล้มป์มิเตอร์

ประเภทของแคล้มป์มิเตอร์

แคล้มป์มิเตอร์จะแบ่งออกตามลักษณะการใช้งาน ดังนี้:

ประโยชน์ของแคล้มป์มิเตอร์

แคล้มป์มิเตอร์โดยทั่วไปแล้ว จะถูกนำมาใช้งานในการวัดกระแสไฟฟ้าในระบบไฟฟ้าต่างๆ โดยการนำแคล้มป์มิเตอร์ไฟคล้องกับสายไฟที่ต้องการวัด ก็จะทำให้สามารถทราบค่ากระแสไฟฟ้าได้จากจอแสดงผลบน แคล้มป์มิเตอร์
การนำแคล้มป์มิเตอร์ไปใช้งานด้านต่างๆรูปที่ 2: การนำแคล้มป์มิเตอร์ไปใช้งานด้านต่างๆ
ในปัจจุบันแคล้มป์มิเตอร์ได้มีการพัฒนาให้มีขีดความสามารถในการวัดได้ทั้ง ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) และไฟฟ้ากระแสตรง (DC) นอกจากนั้นแคล้มป์มิเตอร์ที่มีการใช้ในปัจจุบันนี้ยังมีความสามารถในการวัดกำลังไฟฟ้า (Power) ต่อเข้ากับเครื่องบันทึกกราฟ (Recorder) หรือเครื่องออสซิลโลสโคป (Oscilloscope) เพื่อใช้ในการตรวจสอบ และวิเคราะห์รูปคลื่นไฟฟ้าได้อีกด้วย
ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลจาก บริษัท KEW (Thailand) Limited

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น